Week2

สัปดาห์
วัน
รูปแบบกิจกรรม
เป้าหมาย
กระบวนการ
สื่ออุปกรณ์

2

จันทร์
มุมมองการคิด  ใคร่ครวญ





- มีสมาธิทบทวนใคร่ครวญ
- มีทักษะการสื่อสารผ่านงาน
เขียนและภาพวาด
- ตีความหมายของคำ

คีตกาล
ขั้นเตรียม: 
- นักเรียนนั่งล้อมเป็นวงกลม/ครูเปิดเพลงสปาคลอเบาๆ
- ครูเตรียมความพร้อมด้วยการให้นักเรียนหลับตานั่งสมาธิอยู่กับตัวเอง สำรวจร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าอย่างมีสติประมาณ2 นาที
ขั้นกิจกรรม:
- ครูแจกกระดาษขนาดครึ่ง A4ให้นักเรียนคนละหนึ่งแผ่นขณะส่งนักเรียนรับไหว้ด้วยความขอบคุณอย่างนอบน้อม
- ครูกระตุ้นด้วยคำตาม “คำว่า “คีตกาล”ในความหมายตัวเองหมายถึงอะไร?
-นักเรียนใช้สติใคร่ครวญถ่ายทอดความหมายของคำว่า คีตกาล ในมุมมองของตนเองลงในกระดาษจะเป็นภาพวาดหรือข้อความ
- นักเรียนแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้?”
- นักเรียนแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนส่งชิ้นงานมากลับมาที่ครู ขณะที่ส่งชิ้นงานนักเรียนรับไหว้กันและกันอย่างนอบน้อม
ขั้นสรุป: ครูEmpowerด้วยคำขอบคุณ ขอบคุณกันและกัน ขอบคุณความเป็นคีตกาล





- เพลงสปา
- กระดาษ/ปากกา

อังคาร
การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีสติ(โยคะ,รำกระบี่กระบองฯลฯ)


- มีสติจดจ่อกับ
- ฝึกการควบคุมร่างกายและจิตใจ
- เสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี
โยคะ
ขั้นเตรียม:
- นักเรียนยืนล้อมวงกลมในตำแหน่งและระยะห่างที่เหมาะสมกำกับสติด้วยการรับรู้ลมหายใจเข้าออกของตนเอง ประมาณ 2 นาที
ขั้นกิจกรรม:
- ครูเตรียมนักเรียนด้วยการยืดหยุ่นร่างกาย
 หลังจากนั้นให้นักเรียนกลับมายืนในท่าที่มั่นคงร่างกายอย่างมีสติ
- ครูเล่าเรื่องราวที่เชื่อมโยงเข้าสู่ท่าโยคะต่างๆ(ท่ายืน,ท่านั่ง,ท่านอน)
- นักเรียนทำโยคะท่าต่างๆ(ท่ายืน,ท่านั่ง,ท่านอน)
- นักเรียนนอนพักผ่อนร่างกายท่าศพอาสนะประมาน3นาที
ขั้นจบ: ครูEmpowerด้วยคำขอบคุณ ขอบคุณกันและกัน ขอบคุณทุกสรรพสิ่ง
เพลงสปา

พุธ
ศิลปะ,ดนตรี


- มีสติอยู่กับตัวเอง 
เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งรอบตัว
ฝึกการคิดเชื่อมโยง

- การคิดวิเคราะห์
- จดจ่อกับสิ่งที่ทำ
ฝึกจินตนาการและคิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน

ก้อนหิน
ขั้นเตรียม:
นักเรียนนั่งล้อมเป็นวงกลม/ครูเปิดเพลงสปาคลอเบาๆ
ครูเตรียมความพร้อมด้วยการให้นักเรียนหลับตานั่งสมาธิอยู่กับตัวเองประมาณ5 นาที
ขั้นกิจกรรม:
- คุณคุณครูนำก้อนหินรูปร่างต่างๆมาวางไว้กลางห้อง คุณครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ”ถ้านักเรียนเลือกก้อนหินได้หนึ่งก้อนจะเลือกหินก้อนใด เพราะเหตุใด?”
- ครูแจกกระดาษขนาดครึ่งA4เพื่อให้นักเรียนวาดภาพที่ให้เหตุผลว่าทำไมเลือกเป็นหินก้อนนั้นๆ ขณะส่งนักเรียนรับไหว้ด้วยความขอบคุณอย่างนอบน้อม
- นักเรียนแต่ละคนวางแผนและสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- คุณคุณครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนถ่ายทอดเรื่องราวที่มีความหมาย
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้?”
- นักเรียนแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนส่งชิ้นงานมากลับมาที่ครู ขณะที่ส่งชิ้นงานนักเรียนรับไหว้กันและกันอย่างนอบน้อม
 ขั้นจบ: ครูEmpower ด้วยคำขอบคุณ ขอบคุณเรื่องราวดีๆขอบคุณรูปภาพสวยๆและความตั้งใจของทุกๆคน

- เพลงสปา
- กระดาษ/ปากกา
- ก้อนหิน

พฤหัสบดี
- เรื่องเล่า
- ประสบการณ์ 
 - วรรณกรรม


- เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงจากวรรณกรรมที่สะท้อนเรื่องราวทางวัฒนธรรมของชาวเหนือ
- การคิดวิเคราะห์
- การรับฟังอย่างมีสติ
เรื่องเล่า”เมืองลับแล”
ขั้นเตรียม:
- นักเรียนนั่งล้อมเป็นวงกลม/ครูเปิดเพลงสปาคลอเบาๆ
- ครูเตรียมความพร้อมด้วยการให้นักเรียนหลับตานั่งสมาธิอยู่กับตัวเอง กำกับสติด้วยการฟังจังหวะการเต้นของหัวใจตนเองประมาณ  2นาที
ขั้นกิจกรรม:
- ครูเล่าเรื่องตำนานเมืองลับแลให้นักเรียนฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- ตำนานเมืองลับแลสะท้อนเรื่องราวทางวัฒนธรรมของชาวเหนืออย่างไร?
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด(ต่อ)
- ถ้านักเรียนเป็นคนที่อยู่ในเมืองลับแล นักเรียนจะทำอย่างไร?
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม(ต่อ)
- เรื่องเล่าตำนานเมืองลับแลแตกต่างจากตำนาผาแดงนางไอ่อย่างไร?
- นักเรียนแลกเปลี่ยนกันและกัน ครูEmpower ชื่นชมคนที่ยกมือก่อนที่จะแลกเปลี่ยน ชื่นชมเพื่อนที่รับฟังอย่างตั้งใจ
- ครูแจกกระดาษขนาดครึ่งA4เพื่อให้นักเรียนวิเคราะห์สิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากเรื่องเล่าขณะส่งนักเรียนรับไหว้ด้วยความขอบคุณอย่างนอบน้อม
- นักเรียนแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันในสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากเรื่องเล่า
- นักเรียนส่งชิ้นงานมากลับมาที่ครู ขณะที่ส่งชิ้นงานนักเรียนรับไหว้กันและกันอย่างนอบน้อม
ขั้นจบ:
- นักเรียนนั่งจับมือมอบความปรารถนาดีให้กันและกัน
- ครูEmpowerด้วยคำขอบคุณ ขอบคุณกันและกัน ขอบคุณสิ่งที่ได้เรียนรู้ขอบคุณทุกเรื่องราวดีๆที่ส่งมอบให้กัน
- เพลงสปา
- กระดาษ/ปากกา
- บทความ เรื่องเล่าจากเมืองลับแล
ศุกร์


มายา



- เห็นความเป็นมายาที่ซ้อนอยู่ในจักรวาลที่มนุษย์ สมมุติให้เกิดขึ้น 
- เห็นความจริงที่มีอยู่ในจักรวาล ว่าทุกสิ่งไม่มีอยู่จริง (เรามีอยู่จริงเพราะมีสิ่งอื่นมองเห็นเรา)
- กำกับสติ  มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
 - ใคร่ครวญ  เห็นความเชื่อมโยงเห็นคุณค่าของตัวเอง ผู้อื่น หรือสิ่งของ




































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น